|
"แอมป์ class A ดีจริงหรือ " โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ วงจรภาคขยายเสียงมีหลากหลายเทคนิค หลาย class (การตั้งค่าไฟควบคุม/เลี้ยงวงจร) การตั้งไฟแบบ class A มีข้อดี คือ ให้ความเพี้ยน cross over ต่ำสุด (ความเพี้ยนนี้ที่จะไปป่วนกลบรายละเอียดหยุมหยิม ) เมื่อความเพี้ยนลดลงจะเปิดเผยรายละเอียดออกมาได้ทุกเม็ด ไม่ว่าเสียงลมผ่านไรฟันนักร้อง เสียงริมฝีปาก เสียงขรุขระของหน้ากลองเสียงผิวของคันสีไวโอลีน เสียงนิ้วกรีดสายกีตาร์ ฯลฯ (texture) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันที่ตัวขยายเสียงทรานซิสเตอร์ตอบสนองความถึ่ได้สูงมากขึ้นเยอะ ทำให้ ความเพื้ยนดังกล่าวลดลงมาก จนแทบไม่มีความจำเป็นต้องเป็น pure class A อีกต่อไป นอกจากรุ่นที่ราคาไม่เกี่ยง ระดับหลายแสน จนถึงกว่าล้านบาท จะเป็นclass A แท้ ตัวเครื่องต้องร้อนจัด ใหญ่ และหนักกว่าปกติ ครีบระบายต้องใหญ่เต็มที่ โชคดีที่มีบางเครื่องมีสวิชส์ ให้เราเลือกได้ว่า จะให้มันทำงานแบบ class A แท้ หรือแบบ AB ( ที่กำลังขับสูงกว่า ) ถ้าลำโพงเราความไวสูง ตั้งแต่ 92 dB/w/m ขึ้นไป และเราเปิดไม่ดังมาก ห้องไม่ใหญ่ นั่งฟังใกล้ลำโพงไม่ฟังตูมตาม แอมป์class A แท้ กำลังขับสัก 30 wrms/ข้าง ที่ 8 โอห์ม และเป็นแอมป์แบบจ่ายกระแสได้สูง ( เน้น) เช่นอินทริเกรทแอมป์ Accuphase E 650 อย่างนี้เอาอยู่ ( ดูรายงานทดสอบในเวบนี้) แม้จะมีการหนีไปทำแอมป์ class AB แต่ก็มักจูนให้ค่อนมาทาง A มากเท่าที่จะเป็นไปได้ จีงยังคงหนัก ร้อนจัดและแพงน้องๆ class A เช่น Mark Levinson NO. 383 จงจำไว้อย่างหนึ่งว่า วงจรแบบ class อะไร ไม่ได้เป็นตัวการันตีคุณภาพ ความน่าฟัง ยังมีองค์ประกอบ อื่นๆอีกเยอะมาก ที่เป็นตัวกำหนดเสียงที่ดี มิติที่ดี และอาจมีผลมากกว่าความเป็นclassอะไรด้วยซ้ำ จึงไม่ควรสรุปว่า แอมป์ class A ดีกว่า class AB เสมอไป. www.maitreeav.com |